องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว

Nongbua Subdistrict Administrative Organization

ข้อมูลทั่วไป


ออนไลน์ : 3

หัวข้อ :: ข้อมูลทั่วไป

ข้อมูลทั่วไป
สภาพทั่วไปของตำบลหนองบัว

 
1. ด้านกายภาพ
          1.1 ที่ตั้งของตำบลหนองบัว
ตำบลหนองบัวตั้งอยู่ในเขต อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ห่างจากอำเภอดงหลวงด้านทิศตะวันออกประมาณ 13 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดมุกดาหารด้านทิศตะวันตก ประมาณ 50 กิโลเมตร โดยมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ             ติดต่อเขตตำบลพุ่มแก             อำเภอนาแก     จังหวัดนครพนม
ทิศใต้                 ติดต่อกับเขตตำบลคำป่าหลาย  อำเภอเมือง      จังหวัดมุกดาหาร
ทิศตะวันออก        ติดต่อกับตำบลชะโนดน้อย       อำเภอดงหลวง  จังหวัดมุกดาหาร
ทิศตะวันตก         ติดต่อกับตำบลดงหลวง           อำเภอดงหลวง  จังหวัดมุกดาหาร
          1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบ  มีเนื้อที่โดยประมาณ  52 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 32,500 ไร่
          1.3 ภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิอากาศ มี 3 ฤดูกาล  ดังนี้
- ฤดูร้อน   เริ่มตั้งแต่ เดือน กุมภาพันธ์ – เมษายน  (3 เดือน)
- ฤดูฝน     เริ่มตั้งแต่ เดือน พฤษภาคม – ตุลาคม  (6 เดือน)
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ เดือน พฤศจิกายน – มกราคม (3 เดือน)
          1.4 ลักษณะของที่ดิน
ลักษณะของดินในเขตพื้นที่ ตำบลหนองบัว ส่วนใหญ่มีลักษณะดินร่วนปนทรายเหมาะสำหรับปลูกมันสำปะหลัง,อ้อยและยางพารา

2. ด้านการเมือง/การปกครอง
          2.1   เขตการปกครอง
แบ่งการปกครองตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 เป็น 8 หมู่บ้าน ข้อมูลประชากร  ณ วันที่ 21 พฤษภาคม 2562
ชื่อหมู่บ้าน ชื่อผู้ใหญ่บ้าน จำนวน
ประชากร
จำนวน
หลังคาเรือน
หมู่ที่ 1 บ้านหนองบัว
หมู่ที่ 2 บ้านหนองหนาว
หมู่ที่ 3 บ้านน้ำบ่อ
หมู่ที่ 4 บ้านเหล่าดง
หมู่ที่ 5 บ้านเหล่าเหนือ
หมู่ที่ 6 บ้านหนองบัวน้อย
หมู่ที่ 7 บ้านโนนสะอาด
หมู่ที่ 8 บ้านหนองหนาวงาม
นายอู่ทอง  ประทุมลี
นายสุพจน์  ดีพันธ์
นายวิระพงค์ ไชยเพชร
นายบุญถิ่น คำมุงคุณ
นายสมเดช เชื้อวังคำ
นายวิทยา   คำมุงคุณ
นายพองวิจิตร ประทุมลี
นายจำนงค์  ไชยเพชร์
864
727
612
578
372
512
535
424
267
180
155
173
105
141
140
107
รวม   4,624 1,268
          2.2  เขตการเลือกตั้ง
1)  การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ใช้เขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเขตเลือกตั้ง
2)  การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ใช้เขตหมู่บ้านเป็นเขตเลือกตั้ง

3. ประชากร
          3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
พ.ศ. 2560 พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2562 การคาดการณ์ พ.ศ. 2563
4,582 4,595 4,624 4,650
4. สภาพทางสังคม
          4.1   การศึกษา
การศึกษา เพศชาย เพศหญิง รวม
คน ร้อยละ คน ร้อยละ คน ร้อยละ
ไม่เคยศึกษา 86 2.23 86 2.23 172 4.46
อนุบาล/ศูนย์เด็กเล็ก 18 0.47 30 0.78 48 1.25
ต่ำกว่าชั้นประถมฯ (ป.4, ป.7, ป.6) 69 1.79 73 1.89 142 3.68
ประถมฯ(ป.4, ป.7, ป.6) 916 23.76 959 24.88 1,875 48.64
ม.ต้น (มศ.1-3 หรือ ม.1-3) 344 8.92 237 6.15 581 15.07
ม.ปลาย (มศ.4-5 หรือ ม.4-6) 275 7.13 315 8.17 590 15.38
อนุปริญญา หรือเทียบเท่า หรือ ปวส 62 1.61 57 1.48 119 3.09
ป.ตรี หรือเทียบเท่า 139 3.61 170 4.41 309 8.02
สูงกว่า ป.ตรี 7 0.18 12 0.31 19 0.49
รวม 1,916 49.70 1,939 50.30 3,855 100
 
          4.2   สาธารณสุข
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนตำบล                      1        แห่ง
- อาสาสมัครสาธารณสุข                                          98      คน
          4.3 อาชญากรรม
                   -
          4.4 ยาเสพติด
                   -
          4.5 การสังคมสงเคราะห์
                   - ผู้พิการ         162     ราย
                   - ผู้สูงอายุ        612     ราย
                   - ผู้ป่วยเอดส์    2        ราย
 
5. ระบบการบริการพื้นฐาน
          5.1   การคมนาคมขนส่ง
การคมนาคมติดต่อระหว่างจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน มีเส้นทางหลักคือ เปรมประชา หรือทางหลวงหมายเลข 2014
          5.2   การไฟฟ้า
- การไฟฟ้าเข้าถึงทุกหมู่บ้าน
- มีความต้องการขยายเขตไฟฟ้าเข้าพื้นที่เพื่อการเกษตร
          5.3    การประปา
- ประปาหมู่บ้าน                                                  3        แห่ง
- ประปาองค์การบริหารส่วนตำบลดูแล                         2        แห่ง
          5.4    โครงข่ายโทรศัพท์
- เสาส่งสัญญาณโทรศัพท์                                        1        แห่ง


6. ระบบเศรษฐกิจ
          6.1   การเกษตร
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเนื่องจากพื้นที่เป็นดินร่วนปนทรายเหมาะสำหรับปลูกมันสำปะหลัง  อ้อย  ถั่วลิสงและทำนา
          6.2  การประมง
                   - ไม่มี
          6.3  การปศุสัตว์
                   -
          6.4  การบริการ
                   - ไม่มี
          6.5  การท่องเที่ยว
                    - ตำบลหนองบัวมีแหล่งท่องเที่ยวเชิญวัฒนธรรม คือ วัดโพธิ์ชัย ช้างไม้โบราณ
          6.6  อุตสาหกรรม
                   - ไม่มี
          6.7   การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
1)  หน่วยธุรกิจในเขต อบต.
-  ลานรับซื้อมันสำปะหลัง                จำนวน           1        แห่ง
-  โรงฆ่าสัตว์                              จำนวน           -         แห่ง
-  ปั๊มน้ำมันขนาดเล็ก                     จำนวน           7        แห่ง
-  โรงสีข้าวขนาดเล็ก                     จำนวน           8        แห่ง
-  ห้างร้าน/ห้างหุ้นส่วนจำกัด            จำนวน           6        แห่ง
-  อู่ซ่อมรถจักรยานยนต์                 จำนวน           5        แห่ง
-  ร้านขายของชำ                         จำนวน           40       แห่ง
-  ร้านเสริมสวย/ร้านตัดผม              จำนวน           6        แห่ง
-  ร้านอาหาร/เครื่องดื่ม                  จำนวน           9        แห่ง
-  บ้านเช่า                                 จำนวน           3        แห่ง
2) การรวมกลุ่มของประชาชน
จำนวนกลุ่มทุกประเภท                     47       กลุ่ม
-  กลุ่มอาชีพ                               19      กลุ่ม   
-  กลุ่มทางสังคม                            8        กลุ่ม
-  กลุ่มออมทรัพย์                           11      กลุ่ม   
-  กลุ่มวัฒนธรรม                           2        กลุ่ม
-  กลุ่มสิ่งแวดล้อม / ทรัพยากร           1        กลุ่ม
          6.8  แรงงาน
                   -        

7. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
          7.1   การนับถือศาสนา
ประชนในพื้นที่ตำบลหนองบัวส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
          7.2   ประเพณีและงานประจำปี
ตำบลหนองบัวมีประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่สมัยโบราณ คือ พิธีไหว้ศาลปู่ตาหรือที่เรียกว่า  “บุญเลี้ยงบ้าน” ซึ่งทำในเดือนเจ็ดของทุกปี เป็นฮีตที่สำคัญอีกฮีตหนึ่งของประเพณีฮีตสิบสองคองสิบสี่ของชาวอีสาน วัตถุประสงค์ของการทำบุญนี้ก็เพื่อปัดเป่าภัยพิบัติของหมู่บ้าน เป็นการชำระสะสาง ขับไล่เสนียดจัญไรให้ออกไปพ้น ๆ หมู่บ้านและรับเอาพระพุทธานุภาพมาเป็นสิริมงคลใส่ตัว
          7.3   ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาท้องถิ่น
ประชาชนในตำบลหนองบัว ส่วนใหญ่เป็นชนเผ่า ภูไท ภาษาจึงใช้ภาษา ภูไทในการสื่อสาร   
          7.4   สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
ของที่ระลึก ของตำบลหนองบัวซึ่งมาจากกลุ่มอาชีพต่าง เช่น ผ้าเย็บมือ,ตะกร้าพลาสติก, ไม้กวาด เป็นต้น

8.ทรัพยากรธรรมชาติ
          8.1 น้ำ
ลักษณะของแหล่งน้ำในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว ประกอบไปด้วยแหล่งน้ำตามธรรมชาติ และมนุษย์สร้างขึ้น รายละเอียดดังนี้
1) แหล่งน้ำธรรมชาติ
          -  ลำน้ำ, ลำห้วย                             จำนวน           5        แห่ง
-  บึง,หนองน้ำและอื่น ๆ                    จำนวน           5        แห่ง
2) แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
-  อ่างเก็บน้ำ                       จำนวน           4        แห่ง
-  ฝายน้ำล้น                        จำนวน           8        แห่ง
-  ฝายแม้ว                          จำนวน           31       แห่ง
          8.2 ป่าไม้
                   - มีป่าชุมชน หมู่ 3 หมู่ 7 และหมู่ 2 เนื้อที่ประมาณ 600 ไร่
          8.3 ภูเขา
                    - ไม่มี
          8.4 ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว
                   -  ป่าไม้ชุมชน
                   -  ลำห้วยธรรมชาติ ได้แก่ ลำห้วยชะโนด ลำห้วยทราย ลำห้วยเขาวัว

9. การส่งเสริมการท่องที่ยว
ส่งเสริมการท่องเที่ยว ระยะเวลา สถานที่ดำเนินการ
1. โครงการแข่งขันวิ่งหนองบัวมินิมาราธอน กุมภาพันธ์ อ่างเก็บน้ำห้วยชะโนด บ้านหนองหนาว หมู่ที่ 2
2. ประเพณีวันสงกรานต์และวันผู้สูงอายุ ช่วงเมษายนของทุกปี อบต.หนองบัว
3. โครงการประเพณีบุญบั้งไฟ แรม 7 ค่ำ เดือน 7 ถึง แรม 8 ค่ำ เดือน 7 อบต.หนองบัว
4. ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา ก่อนวันเข้าพรรษา 2 วัน วัดศรีมงคล บ้านหนองบัว หมู่ที่ 1
5. ประเพณีวันลอยกระทง ตรงกับวันลอยกระทงของทุกปี อ่างเก็บน้ำห้วยชะโนด บ้านหนองหนาว หมู่ที่ 2
6. วิ่งการกุศล ดงหลวงมินิมาราธอน และงานมหกรรม กินปลา พาแลง และการแสดงประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น ธันวาคม อ่างเก็บน้ำห้วยชะโนด บ้านหนองหนาว หมู่ที่ 2
7. กีฬาสายสัมพันธ์ชุมชนตำบลหนองบัวต่อต้านยาเสพติด วันที่ 28 -30 ธันวาคม ของทุกปี สนามกีฬาโรงเรียนชุมชนบ้านหนองบัว
8. โบราณสถานวัดโพธิ์ชัย และวัดบุปผาราม ตลอดทั้งปี วัดโพธิ์ชัย บ้านหนองหนาว หมู่ที่ 2 และ วัดบุปผาราม บ้านนำ้บ่อ หมู่ที่ 3
9. อ่างเก็บน้ำห้วยชะโนด ตลอดทั้งปี อ่างเก็บน้ำห้วยชะโนด บ้านหนองหนาว หมู่ที่ 2


 
วันที่ : 26 มกราคม 2560   View : 2434